วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”


ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท การทดลองทฤษฎี

โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์
  • การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์
  • การทำนายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา 
  • การทดลองผสมสารเคมีต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์
  • ปัจจัยต่างๆ กับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน
  • ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน
  • การเปรียบเทียบเทคนิคของการย่อขนาดแฟ้มข้อมูล
  • โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น
  • โปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
การศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (Parchment) จากพืชท้องถิ่น โดย Acetobacter xylinum 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
เด็กหญิงรัชมังคลา ผลค้า, เด็กหญิงภัทรสุดา ฉายาภักดี ,เด็กหญิงอภิลักษมี ศรีไพรวรรณ 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
นางพัชรินทร์ รุ่งรัศมี 
สถาบันการศึกษา
โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม 
ระดับชั้น
อื่นๆ 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
1/1/2541
บทคัดย่อ
การศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (Parchment) จากพืชท้องถิ่น โดย Acetobacter xylinum ในนำพืชท้องถิ่นทั้ง 11 ชนิด เพื่อเป็นการนำเอาพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งหาง่าย และราคาแพงมาดัดแปลงให้เกิดมูลค่า ในการทดลองครั้งนี้ได้นำ Acetobacter xylinum ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการทำการเลี้ยงและแยกเชื้อให้บริสุทธิ์เพื่อที่จะเก็บไว้เป็นหัวเชื้อในการทำกระดาษหนัง (Parchment) ตลอดจนศึกษาระดับ pH และความหวานของพืชแต่ละชนิดก่อนที่จะนำมาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยผลการศึกษาแบ่งออกเป็น ดังนี้ ตอน 1 การศึกษาระดับ pH และความหวานของพืชท้องถิ่น 11 ชนิด พืชที่มีระดับ pH สูงสุด คือ ผักโขม รองลงมาคือ แห้วหมูและต่ำสุดคือ น้ำลูกเม่า เท่ากับ 6.73 6.68 3.32 ตามลำดับ ส่วนความหวานพบว่าพืชที่มีความหวานสูงสุดคือ สับปะรด แตงโม ต่ำสุดคือ แห้วหมู เท่ากับ 11 Brix 8 Brix 0.4 Brixตามลำดับ จากนั้นทากรปรับระดับ pH ของพืชให้อยู่ที่ 3.5 – 4.5 และความหวานให้อยู่ในระดับ 11 Brix - 12 Brix
ก่อนที่จะนำมาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ ตอน 2 การศึกษาการสร้างผลผลิตของ Acetobacter xylinum ในระยะเวลา 5 , 10 , 15 วัน ซึ่งจากการทดลองในพืชทั้ง 11 ชนิด ภายในเวลา 5 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุด คือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม มีความหนาเท่ากับ 0.9 cm 0.7 cm และพืชที่ให้ผลผลิตต่ำที่สุด คือ ผักโขมและแห้วหมู มีความหนาเท่ากัน คือ 0.1 cm เมื่อเลี้ยงภายในเวลา 10 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม และพืชที่ให้ผลผลติต่ำสุดคือ ย่านาง เท่ากับ 1.1 cm 0.9 cm 0.2 cm ตามลำดับ และเมื่อเลี้ยงภายใน 15 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม และพืชที่ให้ผลผลิตต่ำสุดคือ ย่านาง มีความหนาเท่ากับ 1.5 cm 1.2 cm และ 0.2 cm ตามลำดับ

จากนั้นนำผลผลติที่ได้ไปทดสอบว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งหรือเซลลูโลสโดยวิธีการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนและสารละลายเบเนดิกส์ โดยนำผลผลติที่ได้ไปปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า และแบ่งชุดทดลองออกเป็นสองชุด ให้ชุดทดลองที่ 1 นำไปหยดด้วยสารละลายไอโอดีนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าผลผลิตที่ได้นี้ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง ส่วนในชุดทดลองที่ 2 นำผลผลิตที่ปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้าแล้ว ไปต้มกับกรดซัลฟัวริก แล้วนำสารละลายเบเนดิกส์มาหยด จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ จึงสามารถสรุปได้ว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทเซลลูโลส


คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น