วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา”

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาโดยการสร้างโปรแกรม บทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ วิถีชีวิตของคนไทยพวน โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก  โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก โปรแกรมฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โปรแกรมเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • สารานุกรมไทยฉบับมัลติมีเดีย
  • สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
  • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
  • โปรแกรมช่วยสอนการถ่ายภาพ
  • 76 จังหวัดของไทย
  • โปรแกรมช่วยสอนการทำงานของทรานซิสเตอร์
  • คอมพิวเตอร์สอนพิมพ์ดีด
  • ยาไทยและยาจีน
  • สูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
ระบบคำถามคำตอบสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
วิทวัส จิตกฤตธรรม 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง 
สถาบันการศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ระดับชั้น
ปริญญาตรี 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
ไม่ระบุ
บทคัดย่อ
เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูล (Search engine) ในปัจจุบันไม่ได้ตอบสนองคำค้นของผู้ใช้โดยตรง เพียงแต่แสดงให้ผู้ใช้เห็นว่า คำค้นของผู้ใช้นั้นเกี่ยวข้องและพบมากในเอกสารใดบ้าง ซึ่งผู้ใช้ต้องนำผลลัพธ์รายการเอกสารที่ได้มาอ่านและกรองข้อมูลด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ระบบคำถามคำตอบเป็นระบบที่รับคำถามที่อยู่ในรูปของประโยคภาษามนุษย์จากผู้ใช้และคืนคำตอบที่กระชับ ในระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ใช้สารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นฐานความรู้สำหรับตอบคำถาม โดยระบบสามารถสกัดข้อมูลที่มีโครงสร้างจากเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในสารานุกรมและนำมาเก็บอยู่ในรูปของ Resource Description Framework (RDF) ระบบใช้วิธีค้นคืนคำตอบ 2 วิธี คือ 1. แปลงคำถามให้อยู่ในรูปคำค้นภาษา SPARQL โดยเทียบคำถามกับรูปแบบที่มีอยู่แล้วและดึงข้อมูลจากฐาน RDF โดยตรง ซึ่งคำตอบที่ได้มักจะเป็นคำสั้นๆ 2. ใช้เทคนิคการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval) เมื่อไม่สามารถแปลงคำถามให้เป็นคำค้น SPARQL ได้ ระบบจะสกัดคำสำคัญ (keyword) จากคำถามของผู้ใช้ และค้นคืนจากดัชนี (index) ของเอกสารวิกิพีเดียที่เตรียมไว้แล้ว โดยจะพยายามเลือกช่วงข้อความที่สั้นที่สุดและมีคำสำคัญในประโยคคำถามมาเป็นคำตอบ คำตอบที่ได้จากวิธีที่สองมักจะเป็นช่วงข้อความสั้นๆ ระบบที่พัฒนาขึ้นสนับสนุนคำถาม 5 ประเภท คือ คำถามเกี่ยวกับบุคคล คำถามเกี่ยวกับองค์กร คำถามเกี่ยวกับสถานที่ คำถามเกี่ยวกับตัวเลขเชิงปริมาณ และคำถามเกี่ยวกับเวลา

คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ใบงานที่ 5 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”

ใบงานที่ 5 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาเครื่องมือ


โครงงานพัฒนาเครื่องมือ


โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้ โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  •  โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย
  •  โปรแกรมอ่านอักษรไทย
  •  โปรแกรมวาดภาพสามมิติ
  •  โปรแกรมเข้าและถอดรหัสข้อมูล
  •  โปรแกรมบีบอัดข้อมูล
  •  โปรแกรมประมวลผลคำไทยบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
  •  โปรแกรมการออกแบบผังงาน
  •  พอร์ตแบบขนานของไทย
  •  การส่งสัญญาณควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
ระบบบาร์โค้ดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการดำเนินธุรกิจ 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
นายฑีฆวัฒน์ เทพานวล,นายปวีณวัช สุรินทร์,นายปิยะพงษ์ บุญมี 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ. ดร. สุขุมาล กิติสิน 
สถาบันการศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ระดับชั้น
ปริญญาตรี 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
1/1/2549
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคนิคการสร้างบาร์โค้ดบนจอภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาใช้ในการพัฒนา
ระบบที่ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่และเว็บเซอร์วิส เพื่อรองรับการทำงานดังนี้คือ
การขอรับใบแจ้งค่าบริการ การขอทำบัตรสมาชิก การจองและการซื้อตั๋วต่างๆ จากเว็บเซอร์วิสผู้ให้บริการคือ
หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีการใช้ใบแจ้งค่าบริการหรือบัตรสมาชิก ผู้ให้บริการในระบบธุรกิจที่มีการใช้ตั๋ว ตามลำดับ ผ่านโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อใช้โปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนใบแจ้งค่าบริการ บัตรสมาชิก ตั๋วต่างๆและใช้ในการยืนยันการออกตั๋วจริงจากจองตั๋วต่างๆ โดยระบบมีการทำงานดังนี้คือ เว็บเซอร์วิสของระบบจะทำหน้าที่รวบรวมบริการและเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อประสานการทำงานเพื่อส่งผ่านข้อมูลใบแจ้งค่าบริการ ข้อมูลบัตรสมาชิก ข้อมูลหมายเลขเฉพาะหรือข้อมูลหมายการจองของตั๋วต่างๆ ระหว่างเว็บเซอร์วิสผู้ให้บริการกับโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยลักษณะข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเป็นรูปแบบเอกสาร XML ซึ่งโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของระบบสามารถนำข้อมูลหมายเลขบาร์โค้ดบนใบแจ้งค่าบริการ หมายเลขบาร์โค้ดบนบัตรสมาชิก และหมายเลขเฉพาะหรือหมายเลขการจองของตั๋วต่างๆ ทั้งจากการเชื่อมต่อกับเว็บเซอร์วิสของระบบ การรับข้อความ SMS จากผู้ให้บริการและการพิมพ์ข้อมูลโดยตรง มาทำการสร้างเป็นบาร์โค้ดบนจอภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรองรับการอ่านจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในการใช้งานต่อไป โดยระบบที่พัฒนาขึ้นจะเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ โดยทำให้ผู้ใช้ระบบในส่วนโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของระบบสามารถลดภาระการเก็บดูแลรักษาบัตรสมาชิก ใบแจ้งค่าบริการและตั๋วต่างๆ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการยืนยันออกตั๋วจริงจากการจองตั๋วต่างๆ ด้านผู้ให้บริการต่างๆ สามารถลดการใช้ต้นทุนและทรัพยากรธรรมชาติจากการผลิตบัตรสมาชิก ใบแจ้งค่าบริการ และตั๋วต่างๆ เช่น พลาสติก กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น โครงการนี้ได้มีการสร้างส่วนจำลองเพื่อใช้ในการทดสอบระบบสองส่วน ส่วนแรกคือส่วนเว็บเซอร์วิสและโปรแกรมประยุกต์สาขาของผู้ให้บริการ ส่วนที่สองคือส่วนโปรแกรมประยุกต์ของบริษัทตัวแทนรับชำระเงิน


คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”


ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท การทดลองทฤษฎี

โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์
  • การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์
  • การทำนายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา 
  • การทดลองผสมสารเคมีต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์
  • ปัจจัยต่างๆ กับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน
  • ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน
  • การเปรียบเทียบเทคนิคของการย่อขนาดแฟ้มข้อมูล
  • โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น
  • โปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
การศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (Parchment) จากพืชท้องถิ่น โดย Acetobacter xylinum 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
เด็กหญิงรัชมังคลา ผลค้า, เด็กหญิงภัทรสุดา ฉายาภักดี ,เด็กหญิงอภิลักษมี ศรีไพรวรรณ 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
นางพัชรินทร์ รุ่งรัศมี 
สถาบันการศึกษา
โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม 
ระดับชั้น
อื่นๆ 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
1/1/2541
บทคัดย่อ
การศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (Parchment) จากพืชท้องถิ่น โดย Acetobacter xylinum ในนำพืชท้องถิ่นทั้ง 11 ชนิด เพื่อเป็นการนำเอาพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งหาง่าย และราคาแพงมาดัดแปลงให้เกิดมูลค่า ในการทดลองครั้งนี้ได้นำ Acetobacter xylinum ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการทำการเลี้ยงและแยกเชื้อให้บริสุทธิ์เพื่อที่จะเก็บไว้เป็นหัวเชื้อในการทำกระดาษหนัง (Parchment) ตลอดจนศึกษาระดับ pH และความหวานของพืชแต่ละชนิดก่อนที่จะนำมาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยผลการศึกษาแบ่งออกเป็น ดังนี้ ตอน 1 การศึกษาระดับ pH และความหวานของพืชท้องถิ่น 11 ชนิด พืชที่มีระดับ pH สูงสุด คือ ผักโขม รองลงมาคือ แห้วหมูและต่ำสุดคือ น้ำลูกเม่า เท่ากับ 6.73 6.68 3.32 ตามลำดับ ส่วนความหวานพบว่าพืชที่มีความหวานสูงสุดคือ สับปะรด แตงโม ต่ำสุดคือ แห้วหมู เท่ากับ 11 Brix 8 Brix 0.4 Brixตามลำดับ จากนั้นทากรปรับระดับ pH ของพืชให้อยู่ที่ 3.5 – 4.5 และความหวานให้อยู่ในระดับ 11 Brix - 12 Brix
ก่อนที่จะนำมาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ ตอน 2 การศึกษาการสร้างผลผลิตของ Acetobacter xylinum ในระยะเวลา 5 , 10 , 15 วัน ซึ่งจากการทดลองในพืชทั้ง 11 ชนิด ภายในเวลา 5 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุด คือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม มีความหนาเท่ากับ 0.9 cm 0.7 cm และพืชที่ให้ผลผลิตต่ำที่สุด คือ ผักโขมและแห้วหมู มีความหนาเท่ากัน คือ 0.1 cm เมื่อเลี้ยงภายในเวลา 10 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม และพืชที่ให้ผลผลติต่ำสุดคือ ย่านาง เท่ากับ 1.1 cm 0.9 cm 0.2 cm ตามลำดับ และเมื่อเลี้ยงภายใน 15 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม และพืชที่ให้ผลผลิตต่ำสุดคือ ย่านาง มีความหนาเท่ากับ 1.5 cm 1.2 cm และ 0.2 cm ตามลำดับ

จากนั้นนำผลผลติที่ได้ไปทดสอบว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งหรือเซลลูโลสโดยวิธีการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนและสารละลายเบเนดิกส์ โดยนำผลผลติที่ได้ไปปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า และแบ่งชุดทดลองออกเป็นสองชุด ให้ชุดทดลองที่ 1 นำไปหยดด้วยสารละลายไอโอดีนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าผลผลิตที่ได้นี้ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง ส่วนในชุดทดลองที่ 2 นำผลผลิตที่ปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้าแล้ว ไปต้มกับกรดซัลฟัวริก แล้วนำสารละลายเบเนดิกส์มาหยด จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ จึงสามารถสรุปได้ว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทเซลลูโลส


คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”

ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

โครงงานพัฒนาเกม 


โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • เกมผจญภัยกับพระอภัยมณี
  • เกมอักษรเขาวงกต
  • เกมเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • เกมผจญภัย          

ตัวอย่างโครงงาน
โครงการ "การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC)"


คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมากในชีวิตประจำวันและนับวันยิ่งมีบทบาทยิ่งขึ้นในทุกขณะ การพัฒนาทักษะในการเขียนโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศได้ แต่การผลิตบุคลากรที่จะมาพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอนั้น จำต้องอาศัยบุคลากรจำนวนมากเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศ จากความจำเป็นดังกล่าว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จึงได้จัดทำโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยสนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้มีการประกวดแข่งขันชิงเงินรางวัลในระดับประเทศ อันจะเป็นการสร้างเวทีสำหรับเยาวชนและผู้ที่สนใจในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพต่อไปจาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็กซึ่งได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 เนคเทคได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการโดยจัดให้มีเวทีการแข่งขันในระดับประเทศและเปลี่ยนชื่อเป็น การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest : NSC)” ในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นอกจากนั้น เนคเทค ยังได้ร่วมกับ SIPA และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ส่งผลงานซอฟต์แวร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเข้าร่วมการประกวดในงาน Asia Pacific ICT Awards (APICTA) ในประเภทนักเรียน และนิสิต นักศึกษา ซึ่งงาน APICTA นี้ เป็นการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมด้านไอซีทีของประเทศในภูมิภาค เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอผลงานซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ และศักยภาพทางธุรกิจและการตลาดจากผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ ภาคการศึกษา และนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยประเทศในภูมิภาคผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยประเทศไทยสามารถคว้ารางวัลจากเวทีดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปี
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ link : www.nectec.or.th/nsc


คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ใบงานที่ 7 เรื่อง โครงงานประเภท “การประยุกต์ใช้งาน”



ใบงานที่ 7 เรื่อง โครงงานประเภท การประยุกต์ใช้งาน

โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 


โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  •  ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียนของโรงเรียน
  •  ระบบจัดการข้อมูลการเงินส่วนบุคคล
  •  ระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เน็ต
  •  ระบบแนะนำเส้นทางเดินรถประจำทาง
  •  โปรแกรมสังเคราะห์เสียงสำหรับคนตาบอดบนรถประจำทาง
  •  โปรแกรมออกและตรวจข้อสอบ
  •  โฮมเพจส่วนบุคคล
  •  โปรแกรมช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  •  โปรแกรมพจนานุกรมไทย-อังกฤษ
ตัวอย่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน
ซียูเท็กซ์ไทล์: ซอฟต์แวร์ออกแบบลายผ้าสามมิติ CU Textile Design 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
นางสาวอัจฉริยา วิเศษเกษม , นายณัฐ ศรีกฤษณพล , นายอาชว์ สรรพอาษา 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. พิษณุ คนองชัยยศ 
สถาบันการศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ระดับชั้น
ปริญญาตรี 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
1/1/2541
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมแฟชัน ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ ตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานแฟชัน ไม่ต่ำกว่า 10,207 โรงงาน คนงาน ประมาณ 1.58 ล้านคน และมี มูลค่าการส่งออกในปี 2545 ประมาณ 346,822.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของ GDP

ปัญหาที่ประสบของอุตสาหกรรมแฟชันในปัจจุบัน คือ ปัญหาแนวโน้มการส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยปัจจัยของการถดถอย ได้แก่ ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต หรือ
 
โออีเอ็ม (Original Equipment Manufacture: OEM)
 
ผลิตสินค้าคุณภาพระดับล่าง และไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีการแข่งขันสูงขึ้นจากประเทศที่มีต้นทุนและค่าจ้างแรงงานต่ำ เช่น จีน เวียดนามและอินโดนีเซีย เป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมแฟชัน จึงได้มีมติเห็นชอบในกิจกรรมการเปิดตัวโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชัน โดยคำสั่งจากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างธุรกิจ จากการที่ประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดดเด่นด้านแฟชัน และเพื่อให้ตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก งบประมาณและรายได้ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแฟชันอย่างแท้จริง

หนึ่งในกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าว คือการวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้น การเพิ่มศักยภาพของขั้นตอนการออกแบบลายผ้าสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มได้อย่างสูง จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเครื่องมือในลักษณะโปรแกรมจำลองลายผ้าสามมิติขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการออกแบบลายผ้าสำหรับนักออกแบบหรือดีไซเนอร์ ให้ผลิตสินค้าที่มีรูปแบบและคุณภาพระดับสากล อีกทั้งยังลดระยะเวลา ค้นทุน และความผิดพลาดในการผลิต

การออกแบบลายผ้า (Textile design) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคนิค การผลิต และความคิดสร้างสรรค์ ให้ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งลวดลายผ้าในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ลวดลายที่เกิดจากสี และลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย หากลวดลายที่เกิดจากสีนั้นหลุดไป ผ้าก็ยังคงเป็นผืนผ้าและใช้ประโยชน์ได้ เรียกลวดลายประเภทนี้ว่า ลวดลายตกแต่ง (Decorative design) เกิดจากการย้อม และพิมพ์พลิกแพลงแบบต่างๆ ส่วนลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย หากดึงเอาเส้นด้าย ที่เป็นลวดลายออก ลายผ้าบริเวณนั้นจะเสื่อมสภาพไป ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เรียกว่าลวดลายโครงสร้าง (Structural) ซึ่งเกิดจากการทอ
 

การออกแบบสิ่งทอนี้ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุดิบ อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการตกแต่ง แล้วจึงเริ่มออกแบบลวดลายผ้าซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนที่จะตัดสินว่า ผ้าจะสวยงามและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน จึงต้องอาศัยผู้ชำนาญเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งโปรแกรมจำลองลายผ้าสามมิติ จะช่วยให้ผู้ผลิตเห็นโครงร่างของลายผ้าที่ออกแบบไว้ ในลักษณะเสมือนจริง เป็น สามมิติ เพื่อให้เห็นจุดบกพร่องของการออกแบบนั้นๆ อย่างชัดเจน และสามารถแก้ไขได้โดยสะดวก ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และยังสนับสนุนการเชื่อมโยงวงจรการผลิตให้มีศักยภาพในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมากขึ้น

ในปัจจุบัน มีซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถใช้งานในการออกแบบลายผ้าได้ เช่น Photoshop หรือการจำลองสามมิติโดยโปรแกรมมายา (Maya) หรือ ทรีดีสตูดิโอแม๊กซ์ (3D Studio Max) รวมทั้ง อราห์วีฟ แคด แคม (Aearah Weave CAD CAM) ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองลายผ้าโดยเฉพาะ แต่โปรแกรมดังกล่าวอาจทำให้ผู้ผลิตต้องใช้ต้นทุนทางด้านเวลาสูงยิ่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาและอบรบโปรแกรมหลายโปรแกรมประกอบกัน รวมทั้งต้องอาศัยความชำนาญมากกว่า เนื่องจากไม่มีเครื่องมือ ที่อำนวยความสะดวก ในการออกแบบลายผ้าโดยเฉพาะ อีกทั้งมีปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ (license) ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า โปรแกรมออกแบบลายผ้าสามมิติ สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมวงการอุตสาหกรรมแฟชันของประเทศไทยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกด้วย



คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11