วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานสื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง วรรณคดีไทย

ข้อสอบ o-net สุขศึกษาและพลศึกษา

ข้อสอบ o-net วิทยาศาสตร์

ข้อสอบ o-net ภาษาอังกฤษ

ข้อสอบ o-net ภาษาไทย

ข้อสอบ o-net คณิตศาสตร์

ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ


ใบงานที่ 11 เรื่อง กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
--------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน จากกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้ 

1. การสำรวจสภาพน้ำที่คูเมือง
        ขั้นที่ 1   เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในสำรวจ ได้แก่ เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำ,กล้องถ่ายรูป,สมุดบันทึก
        ขั้นที่ 2   เดินทางไปที่คูเมือง ตำแหน่งที่ 1 ด้านทิศเหนือด้วยรถจักรยานยนต์พร้อมเครื่องมือสำรวจ
        ขั้นที่ 3   สังเกตสีของน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง หรือตักน้ำขึ้นมาใส่ขวดแก้วใสแล้วจึงสังเกตสี โดยสีที่เกิดขึ้นของน้ำเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสีได้อย่างคร่าวๆ และมาสำรวจสภาพน้ำที่คูเมืองเป็นระยะ

2. การทำร่มกระดาษสาที่บ่อสร้าง
        ขั้นที่ 1   หาข้อมูลเกียวกับสถานที่และการเดินทาง พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลการทําร่มกระดาษสา
        ขั้นที่ 2   เตรียมอุปกรณ์ ได่แก่ สมุดบันทึก อุปกรณ์บันทึกเสียงและกล้องถ่ายรูป
        ขั้นที่ 3   เดินทางไปยังบ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง
        ขั้นที่ 4   ศึกษาวิธีการทำจากวิทยากรและลงมือทำตามขั้นตอน

3. การรีไซเคิลกล่องนม ทำเป็นผ้ากันเปื้อน
        ขั้นที่ 1  หาข้อมูลเกี่ยวกับอุกรณ์และขั้นตอนการทำ
        ขั้นที่ 2   เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ เช่น กล่องนม กรรไกร  เข็ม ด้าย เชือก เป็นต้น
        ขั้นที่ 3   ทำตามขั้นตอนที่หาจากข้อมูล
        ขั้นที่ ทดลองใช้งาน และนำไปใช้จริงได้


ที่มา :
http://www.thai-recycle.in.th/viewthread.php?tid=2771

คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11

ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้


ใบงานที่ 10 เรื่อง คิดวิเคราะห์สร้างทางเลือก และเกณฑ์ที่ใช้
--------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย โดยเลือกวิธีที่ทำกิจกรรมที่กำหนดให้ต่อไปนี้

ให้นักเรียนเลือกกระบวนการหรือกิจกรรมที่ต้องน่าจะทำได้ เมื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้
1. ปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่บ้าน 
        วิธีที่ 1 ปลูกในกระถางดินเผา
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ... พื้นที่มีจำกัด ...
        วิธีที่ 2  ปลูกในกระบะไม้
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ...เป็นไม้ที่สามารถปลูกในกระบะได้
        วิธีที่ 3  ปลูกในร่องสวน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เป็นไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม
        วิธีที่ 4  ปลูกพื้นที่ข้างบ้าน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ .สามารถปลูกในที่ที่มีพื้นที่จำกัดได้
        2. เก็บอาหารให้อยู่ได้นาน ๆ
        วิธีที่ 1  ดองเค็ม
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ เป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น
        วิธีที่ 2  .ตากแห้ง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ 
        วิธีที่ 3  การกวน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้  ผลไม้ที่สุกแล้วนำมากวนกับน้ำตาล
        วิธีที่ 4  ดองหวาน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น        3. ตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม 
        วิธีที่ 1 บริเวณหน้าห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ สะอาด สบายตา
        วิธีที่ 2  บริเวณขอบหน้าต่าง
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ สะอาด ไม่ว่างเกินไป และไม่รกจนเกินไป
        วิธีที่ 3  บริเวณบอร์ดข้างกระดาน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ สวยงาม สามารถอ่านได้ทุกวัย
        วิธีที่ 4  บริเวณหลังห้องเรียน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ พื้นที่ว่าง
4. การแต่งกายให้เหมาะสมในแต่งละงาน
วิธีที่ 1 งานบุญ
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ชุดที่ดูเรียบร้อยและสีสันที่อ่อนๆสะอาดตา
        วิธีที่ 2  งานบวช
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ชุดที่เรียบร้อยและสุภาพและควรใส่เสื้อผ้าสีอ่อนๆไม่ฉูดฉาด
        วิธีที่ 3  งานแต่งงาน
                    เกณฑ์ที่เลือกใช้ ชุดที่สวยงาม สีสันสดใส
            วิธีที่ 4  งานอวมงคล
                        เกณฑ์ที่เลือกใช้ ชุดที่มีสีเรียบ เช่น สีขาว หรือ สีดำ



คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11

ใบงานที่ 9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน


ใบงานที่ 9 เรื่อง ปัญหาและความจำเป็นในการทำโครงงาน
-----------------------------------------------------------------------------
ให้นักเรียนคิดหาคำตอบว่า เราทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?

กิจกรรมต่อไปนี้ปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาอะไร ? ได้ประโยชน์อย่างไร ?
1. ไปเที่ยวศูนย์การค้า  เพื่อแก้ปัญหา     การเกิดความเครียด ต้องการพักผ่อน และซื้อ  เครื่องใช้ประจำตัว
                                ได้ประโยชน์ คือ เพื่อขจัดความเครียด ได้พักผ่อนและได้เครื่องใช้ประจำตัว
2. ทำความสะอาดบ้าน เพื่อแก้ปัญหา   หาของยาก พื้นที่ว่างมีน้อย
                                ได้ประโยชน์ คือ สิ่งของเครื่องใช้เป็นระเบียบมากขึ้น พื้นที่ว่างมีมากขึ้น
3. ดูทีวี                      เพื่อแก้ปัญหา     การเกิดความเครียด ต้องการพักผ่อน ต้องการติดตามข่าว
                                ได้ประโยชน์ คือ ขจัดความเครียด ได้พักผ่อน และได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง
4. ซื้อจักรยานยนต์      เพื่อแก้ปัญหา     การใช้รถยนต์หรือรถจักรยานใช้เวลานาน
                                ได้ประโยชน์ คือ เดินทางสะดวกและรวดเร็วขึ้น
5. ทำนา                    เพื่อแก้ปัญหา     ความยากจน การว่างงาน และขาดแคลนข้าว
                                ได้ประโยชน์ คือ มีข้าวกิน มีงานทำ ได้เงินจากการขายข้าว
6. มาเรียนหนังสือ       เพื่อแก้ปัญหา     การขาดความรู้ในการดำเนินชีวิต
                                ได้ประโยชน์ คือ มีความรู้ สามารถนำไปสอบได้
7. ตั้งใจเรียน               เพื่อแก้ปัญหา    ไม่เข้าใจในเนื้อหาของบทเรียน ทำการบ้านไม่ได้
                                ได้ประโยชน์ คือ เข้าใจในบทเรียน ทำการบ้านได้
8. เรียนภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา       การขาดความรู้ทางภาษาอังกฤษ ไม่สามารถพูดสื่อสารกับ 
                                               ชาวต่างชาติได้
                                ได้ประโยชน์ คือ สามารถคุยกับชาวต่างชาติได้รู้เรื่อง
9. เรียนคอมพิวเตอร์  เพื่อแก้ปัญหา       การทำรายงานโดยการเขียนใช้เวลานาน ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น
                                               ทำให้ปิดช่องทางในการสื่อสารอีกหลายช่องทาง
                                ได้ประโยชน์ คือ ทำงานเร็วขึ้น สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้ง่ายขึ้น
10. สมัครงาน            เพื่อแก้ปัญหา     ว่างงาน ไม่มีเงิน
                                ได้ประโยชน์ คือ มีงานทำ มีเงิน



คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา”

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาโดยการสร้างโปรแกรม บทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ วิถีชีวิตของคนไทยพวน โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก  โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก โปรแกรมฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โปรแกรมเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • สารานุกรมไทยฉบับมัลติมีเดีย
  • สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
  • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
  • โปรแกรมช่วยสอนการถ่ายภาพ
  • 76 จังหวัดของไทย
  • โปรแกรมช่วยสอนการทำงานของทรานซิสเตอร์
  • คอมพิวเตอร์สอนพิมพ์ดีด
  • ยาไทยและยาจีน
  • สูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
ระบบคำถามคำตอบสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
วิทวัส จิตกฤตธรรม 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง 
สถาบันการศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ระดับชั้น
ปริญญาตรี 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
ไม่ระบุ
บทคัดย่อ
เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูล (Search engine) ในปัจจุบันไม่ได้ตอบสนองคำค้นของผู้ใช้โดยตรง เพียงแต่แสดงให้ผู้ใช้เห็นว่า คำค้นของผู้ใช้นั้นเกี่ยวข้องและพบมากในเอกสารใดบ้าง ซึ่งผู้ใช้ต้องนำผลลัพธ์รายการเอกสารที่ได้มาอ่านและกรองข้อมูลด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ระบบคำถามคำตอบเป็นระบบที่รับคำถามที่อยู่ในรูปของประโยคภาษามนุษย์จากผู้ใช้และคืนคำตอบที่กระชับ ในระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ใช้สารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นฐานความรู้สำหรับตอบคำถาม โดยระบบสามารถสกัดข้อมูลที่มีโครงสร้างจากเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในสารานุกรมและนำมาเก็บอยู่ในรูปของ Resource Description Framework (RDF) ระบบใช้วิธีค้นคืนคำตอบ 2 วิธี คือ 1. แปลงคำถามให้อยู่ในรูปคำค้นภาษา SPARQL โดยเทียบคำถามกับรูปแบบที่มีอยู่แล้วและดึงข้อมูลจากฐาน RDF โดยตรง ซึ่งคำตอบที่ได้มักจะเป็นคำสั้นๆ 2. ใช้เทคนิคการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval) เมื่อไม่สามารถแปลงคำถามให้เป็นคำค้น SPARQL ได้ ระบบจะสกัดคำสำคัญ (keyword) จากคำถามของผู้ใช้ และค้นคืนจากดัชนี (index) ของเอกสารวิกิพีเดียที่เตรียมไว้แล้ว โดยจะพยายามเลือกช่วงข้อความที่สั้นที่สุดและมีคำสำคัญในประโยคคำถามมาเป็นคำตอบ คำตอบที่ได้จากวิธีที่สองมักจะเป็นช่วงข้อความสั้นๆ ระบบที่พัฒนาขึ้นสนับสนุนคำถาม 5 ประเภท คือ คำถามเกี่ยวกับบุคคล คำถามเกี่ยวกับองค์กร คำถามเกี่ยวกับสถานที่ คำถามเกี่ยวกับตัวเลขเชิงปริมาณ และคำถามเกี่ยวกับเวลา

คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ใบงานที่ 5 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาเครื่องมือ”

ใบงานที่ 5 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาเครื่องมือ


โครงงานพัฒนาเครื่องมือ


โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้ โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  •  โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย
  •  โปรแกรมอ่านอักษรไทย
  •  โปรแกรมวาดภาพสามมิติ
  •  โปรแกรมเข้าและถอดรหัสข้อมูล
  •  โปรแกรมบีบอัดข้อมูล
  •  โปรแกรมประมวลผลคำไทยบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
  •  โปรแกรมการออกแบบผังงาน
  •  พอร์ตแบบขนานของไทย
  •  การส่งสัญญาณควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
ระบบบาร์โค้ดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการดำเนินธุรกิจ 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
นายฑีฆวัฒน์ เทพานวล,นายปวีณวัช สุรินทร์,นายปิยะพงษ์ บุญมี 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ. ดร. สุขุมาล กิติสิน 
สถาบันการศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ระดับชั้น
ปริญญาตรี 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
1/1/2549
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคนิคการสร้างบาร์โค้ดบนจอภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาใช้ในการพัฒนา
ระบบที่ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่และเว็บเซอร์วิส เพื่อรองรับการทำงานดังนี้คือ
การขอรับใบแจ้งค่าบริการ การขอทำบัตรสมาชิก การจองและการซื้อตั๋วต่างๆ จากเว็บเซอร์วิสผู้ให้บริการคือ
หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีการใช้ใบแจ้งค่าบริการหรือบัตรสมาชิก ผู้ให้บริการในระบบธุรกิจที่มีการใช้ตั๋ว ตามลำดับ ผ่านโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อใช้โปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนใบแจ้งค่าบริการ บัตรสมาชิก ตั๋วต่างๆและใช้ในการยืนยันการออกตั๋วจริงจากจองตั๋วต่างๆ โดยระบบมีการทำงานดังนี้คือ เว็บเซอร์วิสของระบบจะทำหน้าที่รวบรวมบริการและเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อประสานการทำงานเพื่อส่งผ่านข้อมูลใบแจ้งค่าบริการ ข้อมูลบัตรสมาชิก ข้อมูลหมายเลขเฉพาะหรือข้อมูลหมายการจองของตั๋วต่างๆ ระหว่างเว็บเซอร์วิสผู้ให้บริการกับโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยลักษณะข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเป็นรูปแบบเอกสาร XML ซึ่งโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของระบบสามารถนำข้อมูลหมายเลขบาร์โค้ดบนใบแจ้งค่าบริการ หมายเลขบาร์โค้ดบนบัตรสมาชิก และหมายเลขเฉพาะหรือหมายเลขการจองของตั๋วต่างๆ ทั้งจากการเชื่อมต่อกับเว็บเซอร์วิสของระบบ การรับข้อความ SMS จากผู้ให้บริการและการพิมพ์ข้อมูลโดยตรง มาทำการสร้างเป็นบาร์โค้ดบนจอภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรองรับการอ่านจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในการใช้งานต่อไป โดยระบบที่พัฒนาขึ้นจะเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ โดยทำให้ผู้ใช้ระบบในส่วนโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของระบบสามารถลดภาระการเก็บดูแลรักษาบัตรสมาชิก ใบแจ้งค่าบริการและตั๋วต่างๆ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการยืนยันออกตั๋วจริงจากการจองตั๋วต่างๆ ด้านผู้ให้บริการต่างๆ สามารถลดการใช้ต้นทุนและทรัพยากรธรรมชาติจากการผลิตบัตรสมาชิก ใบแจ้งค่าบริการ และตั๋วต่างๆ เช่น พลาสติก กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น โครงการนี้ได้มีการสร้างส่วนจำลองเพื่อใช้ในการทดสอบระบบสองส่วน ส่วนแรกคือส่วนเว็บเซอร์วิสและโปรแกรมประยุกต์สาขาของผู้ให้บริการ ส่วนที่สองคือส่วนโปรแกรมประยุกต์ของบริษัทตัวแทนรับชำระเงิน


คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”


ใบงานที่ 6 เรื่อง โครงงานประเภท การทดลองทฤษฎี

โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์
  • การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์
  • การทำนายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา 
  • การทดลองผสมสารเคมีต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์
  • ปัจจัยต่างๆ กับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน
  • ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน
  • การเปรียบเทียบเทคนิคของการย่อขนาดแฟ้มข้อมูล
  • โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น
  • โปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
การศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (Parchment) จากพืชท้องถิ่น โดย Acetobacter xylinum 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
เด็กหญิงรัชมังคลา ผลค้า, เด็กหญิงภัทรสุดา ฉายาภักดี ,เด็กหญิงอภิลักษมี ศรีไพรวรรณ 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
นางพัชรินทร์ รุ่งรัศมี 
สถาบันการศึกษา
โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม 
ระดับชั้น
อื่นๆ 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
1/1/2541
บทคัดย่อ
การศึกษาการผลิตกระดาษหนัง (Parchment) จากพืชท้องถิ่น โดย Acetobacter xylinum ในนำพืชท้องถิ่นทั้ง 11 ชนิด เพื่อเป็นการนำเอาพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งหาง่าย และราคาแพงมาดัดแปลงให้เกิดมูลค่า ในการทดลองครั้งนี้ได้นำ Acetobacter xylinum ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการทำการเลี้ยงและแยกเชื้อให้บริสุทธิ์เพื่อที่จะเก็บไว้เป็นหัวเชื้อในการทำกระดาษหนัง (Parchment) ตลอดจนศึกษาระดับ pH และความหวานของพืชแต่ละชนิดก่อนที่จะนำมาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยผลการศึกษาแบ่งออกเป็น ดังนี้ ตอน 1 การศึกษาระดับ pH และความหวานของพืชท้องถิ่น 11 ชนิด พืชที่มีระดับ pH สูงสุด คือ ผักโขม รองลงมาคือ แห้วหมูและต่ำสุดคือ น้ำลูกเม่า เท่ากับ 6.73 6.68 3.32 ตามลำดับ ส่วนความหวานพบว่าพืชที่มีความหวานสูงสุดคือ สับปะรด แตงโม ต่ำสุดคือ แห้วหมู เท่ากับ 11 Brix 8 Brix 0.4 Brixตามลำดับ จากนั้นทากรปรับระดับ pH ของพืชให้อยู่ที่ 3.5 – 4.5 และความหวานให้อยู่ในระดับ 11 Brix - 12 Brix
ก่อนที่จะนำมาทำอาหารเลี้ยงเชื้อ ตอน 2 การศึกษาการสร้างผลผลิตของ Acetobacter xylinum ในระยะเวลา 5 , 10 , 15 วัน ซึ่งจากการทดลองในพืชทั้ง 11 ชนิด ภายในเวลา 5 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุด คือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม มีความหนาเท่ากับ 0.9 cm 0.7 cm และพืชที่ให้ผลผลิตต่ำที่สุด คือ ผักโขมและแห้วหมู มีความหนาเท่ากัน คือ 0.1 cm เมื่อเลี้ยงภายในเวลา 10 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม และพืชที่ให้ผลผลติต่ำสุดคือ ย่านาง เท่ากับ 1.1 cm 0.9 cm 0.2 cm ตามลำดับ และเมื่อเลี้ยงภายใน 15 วัน พบว่าพืชที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ กะพังโหม รองลงมาคือ แตงโม และพืชที่ให้ผลผลิตต่ำสุดคือ ย่านาง มีความหนาเท่ากับ 1.5 cm 1.2 cm และ 0.2 cm ตามลำดับ

จากนั้นนำผลผลติที่ได้ไปทดสอบว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งหรือเซลลูโลสโดยวิธีการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนและสารละลายเบเนดิกส์ โดยนำผลผลติที่ได้ไปปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า และแบ่งชุดทดลองออกเป็นสองชุด ให้ชุดทดลองที่ 1 นำไปหยดด้วยสารละลายไอโอดีนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าผลผลิตที่ได้นี้ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง ส่วนในชุดทดลองที่ 2 นำผลผลิตที่ปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้าแล้ว ไปต้มกับกรดซัลฟัวริก แล้วนำสารละลายเบเนดิกส์มาหยด จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ จึงสามารถสรุปได้ว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทเซลลูโลส


คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11