วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา”

ใบงานที่ 4 เรื่อง โครงงานประเภท การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา


เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาโดยการสร้างโปรแกรม บทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ วิถีชีวิตของคนไทยพวน โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก  โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก โปรแกรมฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โปรแกรมเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงาน
  • สารานุกรมไทยฉบับมัลติมีเดีย
  • สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
  • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
  • โปรแกรมช่วยสอนการถ่ายภาพ
  • 76 จังหวัดของไทย
  • โปรแกรมช่วยสอนการทำงานของทรานซิสเตอร์
  • คอมพิวเตอร์สอนพิมพ์ดีด
  • ยาไทยและยาจีน
  • สูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก
ตัวอย่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน
ระบบคำถามคำตอบสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย 
ชื่อผู้ทำโครงงาน
วิทวัส จิตกฤตธรรม 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
รศ. ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง 
สถาบันการศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ระดับชั้น
ปริญญาตรี 
หมวดวิชา
คอมพิวเตอร์ 
วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน
ไม่ระบุ
บทคัดย่อ
เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูล (Search engine) ในปัจจุบันไม่ได้ตอบสนองคำค้นของผู้ใช้โดยตรง เพียงแต่แสดงให้ผู้ใช้เห็นว่า คำค้นของผู้ใช้นั้นเกี่ยวข้องและพบมากในเอกสารใดบ้าง ซึ่งผู้ใช้ต้องนำผลลัพธ์รายการเอกสารที่ได้มาอ่านและกรองข้อมูลด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบที่ต้องการ ระบบคำถามคำตอบเป็นระบบที่รับคำถามที่อยู่ในรูปของประโยคภาษามนุษย์จากผู้ใช้และคืนคำตอบที่กระชับ ในระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ใช้สารานุกรมออนไลน์ วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นฐานความรู้สำหรับตอบคำถาม โดยระบบสามารถสกัดข้อมูลที่มีโครงสร้างจากเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในสารานุกรมและนำมาเก็บอยู่ในรูปของ Resource Description Framework (RDF) ระบบใช้วิธีค้นคืนคำตอบ 2 วิธี คือ 1. แปลงคำถามให้อยู่ในรูปคำค้นภาษา SPARQL โดยเทียบคำถามกับรูปแบบที่มีอยู่แล้วและดึงข้อมูลจากฐาน RDF โดยตรง ซึ่งคำตอบที่ได้มักจะเป็นคำสั้นๆ 2. ใช้เทคนิคการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval) เมื่อไม่สามารถแปลงคำถามให้เป็นคำค้น SPARQL ได้ ระบบจะสกัดคำสำคัญ (keyword) จากคำถามของผู้ใช้ และค้นคืนจากดัชนี (index) ของเอกสารวิกิพีเดียที่เตรียมไว้แล้ว โดยจะพยายามเลือกช่วงข้อความที่สั้นที่สุดและมีคำสำคัญในประโยคคำถามมาเป็นคำตอบ คำตอบที่ได้จากวิธีที่สองมักจะเป็นช่วงข้อความสั้นๆ ระบบที่พัฒนาขึ้นสนับสนุนคำถาม 5 ประเภท คือ คำถามเกี่ยวกับบุคคล คำถามเกี่ยวกับองค์กร คำถามเกี่ยวกับสถานที่ คำถามเกี่ยวกับตัวเลขเชิงปริมาณ และคำถามเกี่ยวกับเวลา

คณะผู้จัดทำ
นางสาววีรดา ต๊ะเรือน ม.6/4 เลขที่ 5
นางสาวชลธิดา ทรัพย์ศิริ ม.6/4 เลขที่ 6
นางสาวจิระนันท์ สมบูรณ์ ม.6/4 เลขที่ 11


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น